นายกนกอยู่ สิงห์

นายกนก อยู่สิงห์
รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1

ประวัติส่วนตัว
เกิด 2 พฤศจิกายน 2503
ที่อยู่ปัจจุบัน 33/16 ถ.เหมืองแดง ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ 54000
ตำแหน่งปัจจุบัน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

ประวัติการศึกษา
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ช่างอิเลคทรอนิค กรุงเทพฯ
อนุปริญญา พ.กศ., พ.ม.
ปริญญาตรี ศึกษาศาสตร์ บริหารการศึกษา
ปริญญาโท ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บริหารการศึกษา

ประวัติการเข้ารับราชการ
23 มิถุนายน 2523 - ครู 1 โรงเรียนบ้านดงอินตา อำเภอแม่ใจ จ.พะเยา
1 ตุลาคม 2527 - ครู 2  โรงเรียนบ้านดงอินตา อำเภอแม่ใจ จ.พะเยา
1 ตุลาคม 2528 - ครู 3  โรงเรียนบ้านดงอินตา อำเภอแม่ใจ จ.พะเยา
1 ตุลาคม 2529 - อาจารย์ 3  โรงเรียนบ้านดงอินตา อำเภอแม่ใจ จ.พะเยา
2 กันยายน 2531 - ครูใหญ่ 3  โรงเรียนบ้านสันติสุข อำเภอปง จ.พะเยา
1 ธันวาคม 2531 -  ครูใหญ่ 3  โรงเรียนบ้านแม่เย็น อำเภอแม่ใจ จ.พะเยา
1 ตุลาคม 2532 - ครูใหญ่ 4  โรงเรียนบ้านแม่เย็น  อำเภอแม่ใจ จ.พะเยา
20 ตุลาคม 2532 - ครูใหญ่ 4  โรงเรียนบ้านหนองสระ  อำเภอแม่ใจ จ.พะเยา
16 มิถุนายน 2534 - นักวิชาการศึกษา 4 สำนักงานศึกษาธิการอำเภอแม่ใจ จ.พะเยา
1 เมษายน 2536 - นักวิชาการศึกษา 4 สำนักงานศึกษาธิการอำเภอร้องกวาง จ.แพร่
1 ตุลาคม 2536 - นักวิชาการศึกษา 5 สำนักงานศึกษาธิการอำเภอร้องกวาง จ.แพร่
1 ตุลาคม 2537 - นักวิชาการศึกษา 5 สำนักงานศึกษาธิการอำเภอรสอง จ.แพร่
27 กรกฎาคม 2538 นักวิชาการศึกษา 5 กิ่งอำเภอแม่ลาว จ.เชียงราย
28 พฤษภาคม 2542 นักวิชาการศึกษา 6 กิ่งอำเภอแม่ลาว จ.เชียงราย
25 กันยายน 2545 นักวิชาการศึกษา 7 กิ่งอำเภอแม่ลาว จ.เชียงราย
26 ธันวาคม  2545 นักวิชาการศึกษา 7 กิ่งอำเภอแม่สาย จ.เชียงราย
7 กรกฎาคม 2546 ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจราชการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3
22 กันยายน 2547 ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1
24 ธันวาคม 2547  ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1 คศ.2
6 มีนาคม 2550  ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1 คศ.3
6 มีนาคม 2550  รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1 คศ.3
29 มีนาคม 2553  รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1
29 มีนาคม 2554  รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 คศ.3

ผลงานดีเด่น
1 รางวัล ครูผลิตสื่อสารเรียนการสอนดีเด่น จังหวัดพะเยา ประเภทสื่ออิเลคทรอนิค ประจำปี 2525
2 รางวัล ผู้บริหารโรงเรียนดีเด่น จังหวัดพะเยา ประจำปี 2532
3 รางวัล ข้าราชพลเรือนดีเด่นจังหวัดพะเยา ประจำปี 2535
4 รางวัล การบริหารสำนักงานดีเด่น ประเภท สำนักงานศึกษาธิการอำเภอดีเด่นขนาดเล็ก เขตการศึกษา 8
5 รางวัล ผลงานวิจัยการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กสู่ศูนย์รวมการเรียนรู้คุณภาพ ประจำปี 2549
5 รางวัลดีเด่น ประกาศเกียรติคุณข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปี 2550
6 รางวัลดีเด่น ประกาศเกียรติคุณข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปี 2551
7 รางวัลชนะเลิศ ประกาศเกียรติคุณสดุดดีประจำปี 2552 ประเภทรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
8 รางวัล หนึ่งแสนครูดี ประจำปี 2555 คุรุสภา
9 รางวัล รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายอดเยี่ยม obec awards 2555 ด้านนวัตกรรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนยอดเยี่ยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1
10 คณะกรรมการประเมินนักเรียนนักศึกษาและสถานศึกษา เพื่อรับรางวัลรพระราชทางของกระทรวงศึกษา
11 คณะกรรมการประเมินโรงเรียนในฝัน กระทรวงศึกษาธิการ

คติการทำงาน
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น

คำนิยมหลัก เอกลักษณ์ อัตตลักษณ์
ยิ้มแย้มแจ่มใส ฉับไวบริการ ประสานสัมพันธ์ มุ่งมั่นพัฒนา

ภารกิจ
บริหารจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพโดยยึดโรงเรียนเป็นฐานภายใต้หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนภาคีเครือข่าย

หลักการและแนวคิดในการทำงาน
บริหารจัดการศึกษาอย่างมืออาชีพด้วยวิธีปฏบัติที่เป็นเลิศของตนเอง (Best Practice : Phrae 1) โดยใช้ระบบหลักการประกันคุณภาพ(Quality Assurance System) เป็นกลไกและเครื่องมือที่สำคัญในการขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์

การพัฒนา(Strategic Plan) แผนปฏิบัติการประจำปี (Action Plan) ยึดหลักการมีส่วนร่วมในการบริในการกำหนดวิสัยทัศน์(Vision) พันธกิจ(Misson) เป้าประสงค์(Goals) ภายใต้แนวคิดจากการกำหนดผลสำเร็จอย่างสมดุลรอบ

ด้าน(Techincs Balanced Scorecard) การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน(Swot) จุดเน้น ด้านโครงสร้าง(Focus Function) พื้นที่รับผิดชอบ(Focus Area) และนะโยบายที่สำคัญ(Focus Agenda) กระจายอำนาจการพัฒนาสู่สถานศึกษาด้วย

ระบบสนับสนุนมาตรฐานวงจรคุณภาพ(P.D.C.A.) โดยยึดโรงเรียนเป็นฐาน (SBM) โดยเปรียบเทียบมาตรฐานการศึกษา(Benchmarking) ของชาติ ของกระทรวงศึกษาธิการ และของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บริหารจัดการอย่างมืออาชีพ ด้วยวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของตนเอง(Best Practice : Phrae 1) ให้ดำเนินไปพร้อมๆกัน เพื่อให้เกิดผลผลิต (Out Put) และผลลัพธ์ (Out Come) อย่างมีคุณภาพ  เอกลักษณ์ อัตตลักษณ์ ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด (K.P.I. : Key Performace Indicator)ที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้อย่างชัดเจน